คำพิพากษาฎีกาที่4987/2546 | |
บริษัทยูไนเต็ดอินเตอร์เนชั่นแนลพิคเจอร์ส (ฟาร์อีสต์) จำกัด | โจทก์ |
กรมสรรพากร | จำเลย |
เรื่อง ภาษีการค้า | |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลรัษฎากร มาตรา มาตรา 40 (3) , 70 (2) บัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 5 โจทก์ทำสัญญากับบริษัท ย. แห่งประเทศอังกฤษ มีข้อตกลงให้โจทก์นำภาพยนตร์ของบริษัทดังกล่าวมาฉายในประเทศไทยโดยแบ่งผลประโยชน์กัน ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 เมื่อโจทก์มีรายได้จากการนำภาพยนตร์มาฉายในประเทศไทย โจทก์จะหักไว้เป็นรายได้ของโจทก์ตามสัญญาประมาณร้อยละ 30 และหักเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพื่อจัดฉายภาพยนตร์รวมหักไว้เป็นเงิน 6,840,931.69 บาท แล้วโจทก์จึงส่งเงินส่วนที่เหลือไปยังบริษัท ย. แม้ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ย. จะระบุว่าค่าเช่าหรือค่าตอบแทนที่บริษัท ย. ได้รับตามสัญญาดังกล่าวเป็นค่าเช่า แต่การที่บริษัท ย. ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานภาพยนตร์อนุญาตให้โจทก์นำภาพยนตร์ที่รับมาจาก ต่างประเทศเข้ามาฉายในประเทศไทย ค่าเช่าหรือค่าตอบแทนที่บริษัท ย. ได้รับจากโจทก์ในประเทศไทยจึงเป็นค่าตอบแทนการใช้สิทธิในงานอันมีลิขสิทธิ์ ถือเป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(3) ซึ่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70(2) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น กำหนดให้บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40(3) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทยให้บริษัทนั้นเสียภาษี โดยให้ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตาม วิธีการและอัตราดังต่อไปนี้ เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) ให้คำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้สำหรับบริษัท โดย มิให้หักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพื่อจัดฉายภาพยนตร์จำนวน 6,840,931.69 บาท ซึ่งเป็นรายได้ของบริษัท ย. แต่โจทก์อ้างว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายที่บริษัท ย. ต้องรับผิดชอบ โจทก์จึงใช้วิธีหักกลบ ลบหนี้กับเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายแทนไปก่อน เมื่อตามมาตรา 70 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ไม่อนุญาตให้มีการหักค่าใช้จ่ายใด ๆ จากเงินได้ของบริษัทในต่างประเทศแล้ว ดังนั้น บริษัท ย. จึงต้องเสียภาษีโดยให้โจทก์หักภาษี ณ ที่จ่าย จากเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 (2) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ในการนำภาพยนตร์จากต่างประเทศเข้ามาฉายในประเทศไทย เมื่อนำฟิล์มภาพยนตร์เข้ามาในประเทศไทยแล้วโจทก์ต้องจ้างบุคคลภายนอกทำก๊อปปี้ฟิล์มภาพยนตร์เพื่อนำไปฉายใน โรงภาพยนตร์ได้หลายแห่งในเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ดังนั้นฟิล์มภาพยนตร์ที่โจทก์ส่งไปฉายยังโรงภาพยนตร์ต่าง ๆ จึงเป็นทรัพย์สินของโจทก์ เมื่อโจทก์ซึ่งมิใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ใน งานภาพยนตร์นำฟิล์มภาพยนตร์นั้นไปให้เจ้าของโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพมหานครฉายให้คนดู โดยเจ้าของโรงภาพยนตร์ มีรายรับจากการจำหน่ายตั๋วเข้าชมภาพยนตร์และตกลงแบ่งรายรับกันระหว่างโจทก์กับเจ้าของโรงภาพยนตร์ เป็นการให้ เจ้าของโรงภาพยนตร์ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในฟิล์มภาพยนตร์ในชั่วระยะเวลาอันจำกัด และเจ้าของโรงภาพยนต์ตกลงแบ่งรายรับให้โจทก์จึงเป็นการให้เช่าทรัพย์สิน โจทก์จึงเป็น ผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 5 เมื่อโจทก์ไม่ยื่นเสียภาษี การค้า การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าจึงชอบแล้ว อธิบดีกรมสรรพากรเคยตอบ ข้อหารือภาษีการค้าแก่บริษัท ท. ว่าการที่บริษัทดังกล่าว มีรายรับจากการนำภาพยนตร์ไปฉายตามโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพฯ โดยตกลงแบ่งค่าใช้จ่ายและแบ่งรายรับแก่ผู้เข้าชมไม่เข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้า นอกจากนี้ยังปรากฏว่าสำเนาการตรวจสอบเดิมถูกเพลิงไหม้ไปทั้งหมด เมื่อตั้งสำนวนใหม่โจทก์ให้ความร่วมมือส่งมอบเอกสารต่างๆ พร้อมทั้ง ชี้แจงข้อเท็จจริงและตอบข้อซักถามของเจ้าพนักงานด้วยดี อันเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบและประเมินภาษีเพิ่มเติม ประกอบกับตามพฤติประกอบกับตามพฤตินการสำคัญผิดในปัญหาข้อเท็จจริงและ ข้อกฎหมาย ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีการค้า โจทก์ไม่ได้เสียภาษีการค้าให้ครบถ้วนเพราะความเข้าใจผิดโดยมีเหตุอันสมควรที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยให้งดเบี้ยปรับนั้นชอบแล้ว อรรณพ วิทูรากร / ย่อ | |