คำพิพากษาฎีกาที่2346/2541 | |
กรมสรรพากร | โจทก์ |
บริษัท พุฒจันทน์ จำกัด กับพวก | จำเลย |
เรื่อง ผู้ค้ำประกัน | |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 | |
เจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2526 พบว่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินราคา 70 ล้านบาท แต่ไม่นำมารวมเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงประเมินให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและเบี้ยปรับ จำนวน 37,487,178.-บาท จำเลยที่ 1 ไม่พอใจการประเมินจึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ต่อมาคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ลดเบี้ยปรับลงร้อยละ 50 จึงฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยโดยทุเลาการชำระภาษีอากรจนกว่าจะมีคำพิพากษาการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยทุเลาการชำระภาษีอากรจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดไว้กับโจทก์ มี่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นธนาคารเป็นผู้ค้ำประกัน ต่อมาศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดยกฟ้องจำเลยที่ 1 ในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้นำเงินมาชำระหนี้ภาษีอากรแก่โจทก์ 8 ครั้ง จำนวน 4,217,307.66 บาท หลังจากนั้นก็ไม่มาชำระอีก โจทก์จึงทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน แต่จำเลยที่ 2 อ้างว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันค่าภาษีในวงเงินเพียง 28,115,384.04 บาท สำหรับข้อความในหนังสือค้ำประกันที่ว่า พร้อมทั้งเงินเพิ่มซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องชำระตามกฎหมาย เป็นข้อความในแบบฟอร์มของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 2จะต้องพิมพ์ตามนั้นตามปกติจำเลยที่ 2 จะต้องชดใช้เงินไม่เกินวงเงินที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันซึ่งคงค้างอยู่เพียง 23,898,076.38 บาท ไม่ต้องรับผิดเงินเพิ่มด้วย โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ตามสัญญาค้ำประกันซึ่งจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันทำกับโจทก์มีข้อความว่าธนาคาร น (จำเลยที่ 2) ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันบริษัท พ (จำเลยที่ 1) ต่อกรมสรรพากร (โจทก์) เป็นเงิน 28,115,384.04 บาท พร้อมทั้งเงินเพิ่มซึ่งบริษัท พ. จะต้องชำระตามกฎหมาย ข้อความตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวมีความหมายชัดเจนว่าจำเลยที่ 2 ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในการที่จะชำระเงินจำนวน 28,115,384.04 บาท พร้อมทั้งเงินเพิ่มตามกฎหมาย เงินเพิ่มหาได้รวมอยู่ในวงเงิน 28,115,384.04 บาท ตามที่ระบุไว้ในหนังสือค้ำประกันไม่ ดังนี้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน ต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรจำนวน 28,115,384.04 บาท รวมทั้งเงินเพิ่มจำนวน 18,743,589.36 ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ค้างชำระหนี้ภาษีอากรและเงินเพิ่มโจทก์อยู่อีก 42,641,665.74 บาท จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามจำนวนเงินดังกล่าว |