คำพิพากษาฎีกาที่4969/2549 | |
ห้างหุ้นส่วนจำกัดแสงเจริญกาญจนบุร์ | โจทก์ |
กรมสรรพากร กับพวกรวม 4 คน | จำเลย |
เรื่อง อุทธรณ์การประเมิน | |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ 65 ตรี พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ .ศ . 2528 มาตรา 8 | |
โจทก์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินแต่เพียงว่า โจทก์บันทึกยอดขายรถยนต์ครบถ้วนแล้ว ไม่ได้บันทึกยอดขายรถยนต์ขาดจำนวนตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินแต่อย่างใด เป็นคำอุทธรณ์ที่โต้แย้งว่าโจทก์บันทึกยอดขายรถยนต์ครบถ้วนแล้ว ไม่ได้บันทึกยอดขายรถยนต์ขาดจำนวนตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเท่านั้น หาได้โต้แย้งว่าควรต้องกำหนดต้นทุนขายรถยนต์ให้แก่โจทก์ด้วยไม่ คำอุทธรณ์ของโจทก์ที่กล่าวว่า เจ้าพนักงานประเมินแจ้งว่าโจทก์บันทึกต้นทุนขายต่ำไปจำนวน 2,302,059 .25 บาท ซึ่งโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องนั้น ก็มีข้อความว่า เมื่อปรับปรุงแล้วทำให้โจทก์มีกำไรขั้นต้น 5,995,085.84 บาท โจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้อง โจทก์มิได้มีกำไรขั้นต้นเพิ่มตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้ง ประกอบอยู่ด้วย เห็นได้ว่าเป็นคำอุทธรณ์ที่โต้แย้งการประเมินยอดขายเพิ่ม มิได้เป็นการอุทธรณ์ว่าโจทก์ต้องมีต้นทุนขายเพิ่มขึ้น เพราะต้นทุนขายที่เจ้าพนักงานกำหนดให้นั้นมีผลให้กำไรขั้นต้นลดลง หาได้ทำให้กำไรขั้นต้น เพิ่มขึ้นไม่ และความที่ระบุว่า จะเห็นว่าต้นทุนขายของโจทก์ต่ำกว่าความเป็นจริง 8,953,978.77 บาท ก็สืบเนื่องมาจากข้อความในห้าบรรทัดก่อนหน้านี้และข้อความอุทธรณ์ข้างต้นที่กล่าวถึงกำไรขั้นต้นที่โจทก์พึงได้รับจากการขายรถยนต์และสินค้า จึงเป็นคำอุทธรณ์เกี่ยวกับการกำหนดอัตรากำไรขั้นต้นของเจ้าพนักงานประเมิน มิใช่ราคารถยนต์ที่โจทก์ซื้อมาอันเป็นต้นทุนขายรถยนต์ และสำหรับตารางแสดงกำไรขั้นต้นจากการขายรถยนต์นั้น ก็เป็นรายละเอียดแสดงรายการราคาขาย ต้นทุน และอัตรากำไรของการขายรถยนต์ของโจทก์ในปี 2534 มิใช่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 คำอุทธรณ์ในข้ออื่นๆ ก็เป็นเรื่องการขายรถยนต์ของโจทก์ในปี 2534 มิใช่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 อันเป็นคำอุทธรณ์ที่โต้แย้งเกี่ยวกับผลขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2534 ที่ยกมาในปี 2535 จึงถือไม่ได้ว่าคำอุทธรณ์ของโจทก์ได้โต้แย้งเรื่องบันทึกบัญชีต้นทุนขายรถยนต์ต่ำและควรกำหนดต้นทุนรถยนต์ให้โจทก์เพิ่มขึ้น แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะวินิจฉัยปัญหานี้ให้โจทก์ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะนำปัญหานี้มาฟ้องต่อศาล ที่ศาลภาษีอากรกลางไม่รับวินิจฉัยปัญหาว่า ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 โจทก์บันทึกบัญชีต้นทุนขายรถยนต์ต่ำไปหรือไม่เพียงใด ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นพ้องด้วย และไม่รับวินิจฉัยปัญหานี้ให้โจทก์เช่นเดียวกัน คำอุทธรณ์ของโจทก์มีข้อความระบุชัดแจ้งว่า เจ้าพนักงานประเมินมิได้ปรับปรุงรายได้จากการขายให้ถูกต้อง ที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งว่าโจทก์บันทึกยอดขายขาดไป 2,576,461 บาท ไม่ถูกต้อง โจทก์บันทึกยอดขายรถยนต์เกิน 85,000 บาท บันทึกต้นทุนขายรถยนต์ขาดไป 1,557,800 บาท บันทึกต้นทุนขายรถยนต์เก่าขาดไป 949,914.90 บาท เป็นการอุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในปัญหาที่ว่าโจทก์บันทึกบัญชีต้นทุนขายต่ำไปหรือไม่แล้ว ส่วนคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะรับพิจารณา และเชื่อข้อเท็จจริงตามที่โจทก์อุทธรณ์หรือไม่เป็นคนละเรื่องกัน หาทำให้อุทธรณ์ของโจทก์เสียไปไม่ ศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว | |
ศาลภาษีอากรกลาง/ย่อ |