คำพิพากษาฎีกาที่ 1232/2551 | |
บริษัท ประเสริฐสินมอร์เตอร์ส จำกัด | โจทก์ |
กรมสรรพากร | จำเลย |
เรื่องการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิกรณีโอนทรัพย์สินหรือให้บริการโดยมีค่าตอบแทน ต่ำกว่าราคาตลาด | |
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4) มาตรา 67 ตรี และมาตรา 87 | |
การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิสำหรับการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ในกรณีโอนทรัพย์สินหรือให้บริการโดยมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทนหรือค่าบริการ นั้นตามราคาตลาดในวันที่โอนหรือให้บริการ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ขายรถยนต์ในราคาต่ำกว่า ราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินค่าตอบแทนตามราคา ตลาด ในวันที่โอน และการที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดอัตรากำไรขั้นต้นจากการขายรถยนต์กระบะร้อยละ 3 ของราคาทุนและรถยนต์ประเภทอื่นให้เท่าราคาทุนนั้น เป็นการปรับราคาขายตามคำให้การของผู้รับ มอบอำนาจโจทก์ โดยได้เปรียบเทียบกับอัตรากำไรขั้นต้นของกิจการประเภทเดียวกันและความ เหมาะสมของราคาตลาด เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินค่าตอบแทนโดยการปรับอัตรากำไรขั้นต้น ดังกล่าว และกำหนดราคาขายรถยนต์ประเภทอื่นให้เท่ากับราคาทุน ประกอบกับในชั้นอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ปรับปรุงราคาขายใหม่เฉพาะรายการที่มีหลักฐานยืนยันราคาขาย ตามผลการสอบยัน เป็นผลให้ภาษีตามการประเมินลดลงซึ่งนับว่าเป็นคุณแก่โจทก์มากแล้ว การ ประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบแล้ว ส่วนความรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์ยื่น แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ครึ่งปี) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2539 ประมาณการกำไรสุทธิจำนวน 67,312.04 บาท ต่อมาเมื่อสิ้นรอบระยะเวลา บัญชี โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ดังกล่าว ว่ามีกำไรสุทธิจำนวน 171,106.70 บาท ซึ่งโจทก์แสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไป 103,794.66 บาท คิดเป็นร้อยละ 60.66 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลา บัญชี โดยโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏเหตุอันสมควร ที่ทำให้ประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจาก กิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โจทก์จึงต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ตรี กรณีเจ้าพนักงานประเมินนำยอดขายรถยนต์ในปี 2539 ที่โจทก์ยื่นยอดรายรับตาม แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มขาดไป โดยถือว่า ยอดขายที่โจทก์ยื่นขาดตามผลการตรวจสอบเป็น ยอดของเดือนภาษีธันวาคม 2539 นั้น เป็นคุณแก่โจทก์และชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า กรณีมีสินค้า ขาด จากรายงานสินค้าและวัตถุดิบถือเป็นการขายตามคำนิยามในมาตรา 77/1(8)(จ) แห่งประมวล รัษฎากร และตามมาตรา 78/3(5) ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 189 (พ.ศ.2534) ออกตามความในประมวล รัษฎากร ว่าด้วยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มบางกรณี ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 ข้อ 8 ในกรณีสินค้า ขาด จากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) และมาตรา 87 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการตรวจพบ และโจทก์ต้องนำส่งภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หากโจทก์ไม่ชำระหรือนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้ครบถ้วน ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอีก ร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ เมื่อ เจ้าพนักงานตรวจพบกรณีดังกล่าว และถือว่ายอดขายของโจทก์ยื่นขาดตามผลการตรวจสอบเป็น ยอดขายของเดือนธันวาคม 2539 ก็เพื่อประโยชน์ของโจทก์ในการคำนวณเงินเพิ่มเพราะเดือนธันวาคมเป็นเดือนสุดท้ายแห่งปี ดังนั้น การ ประเมินของเจ้าพนักงานจึงถูกต้องและเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว |